Deprecated: File Theme without header.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a header.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078
รวมวิธีดึงตัวเองออกจากความเครียด ฉบับมนุษย์เงินเดือน – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life รวมวิธีดึงตัวเองออกจากความเครียด ฉบับมนุษย์เงินเดือน – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life

รวมวิธีดึงตัวเองออกจากความเครียด ฉบับมนุษย์เงินเดือน

ดร. เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล 10 March 2022
 รวมวิธีดึงตัวเองออกจากความเครียด ฉบับมนุษย์เงินเดือน

รวมวิธีดึงตัวเองออกจากความเครียด ฉบับมนุษย์เงินเดือน

ความเครียด (Stress) เป็นสภาวะอารมณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เกิดจากงาน ความสัมพันธ์ การเงิน หรือกระทั่งความเปลี่ยนแปลงรอบๆ ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาวิกฤตอย่างปัจจุบัน ที่ความโกลาหลในสังคมถูกแสดงผ่านหน้าฟีด แม้จะจำกัดช่วงเวลาอ่านข่าวแต่ก็ยังมีความเครียดจากสถานการณ์ที่ดูรุนแรงมากขึ้นตลอดเวลา 

 

ผลการวิจัย Rethinking Stress: The Role of Mindsets in Determining the Stress Response (Crum, Salovey, & Achor, 2013) บ่งชี้ว่าผู้คนสามารถเตรียมรับมือกับความคิดที่สร้างความเครียด โดยสามารถใช้มันในทางบวก เพื่อเพิ่มสุขภาพที่ดีขึ้นและประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยน mindset ไม่ใช่สิ่งที่สามารถเปลี่ยนได้ในทันที แต่ต้องทำงานกับมันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การปลี่ยนมายด์เซ็ทในการรับมือกับความเครียดนี้มีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน

 

1.ลิสต์ความเครียดของคุณลงกระดาษหรืออาจจะใน Ipad 

ในการเริ่มต้นทำข้อนี้ผมแนะนำว่าควรเริ่มจากการหาพื้นที่ส่วนตัว เพราะการอยู่ท่ามกลางผู้อื่นเราจะมีโอกาสที่จะเกิดความเครียดจนไม่สามารถเขียนออกมาได้ตามที่ต้องการ จากนั้นให้เวลาตัวเองสัก 7-10 นาที เพื่อระดมความคิดว่าในตอนนี้มีสิ่งใดที่ทำให้เราเกิดความเครียดบ้าง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเริ่มต้นเพื่อค้นหาต้นตอว่าสิ่งใดกันแน่ที่ทำให้คุณเครียด ลองลิสต์ออกมาดูเป็นข้อๆ 

 

2.จัดประเภทของความเครียด 

เมื่อคุณเห็นสิ่งที่ตัวเองลิสต์ลงมา สิ่งที่ควรทำต่อมาคือการจัดประเภทว่าปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดเหล่านี้จัดการได้หรือไม่ จากนั้นจึงเรียงลำดับความสำคัญ (prioritize) ของความเครียดทั้งหมด โดยการลำดับจากสิ่งที่จัดการได้ จนถึงปัญหาสเกลใหญ่ที่คุณไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวคนเดียว แม้ว่าจะเป็นความเครียดจากการอ่านข่าวที่ไม่ได้กระทบตัวคุณในฐานะปัจเจก แต่มีผลกระทบต่อสังคมที่คุณอยู่อาศัยก็ตาม เพราะความเครียดแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เราให้คุณค่าเช่นกัน

 

3.ยอมรับปัญหาที่ไม่อาจแก้ไขได้ 

หลังจากเราแยกประเภทของความเครียดเพื่อดูว่าความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นสามารถจัดการได้หรือไม่เรียบร้อยแล้ว เรายังเหลือการจัดการกับปัญหาสเกลใหญ่ที่ไม่สามารถจัดการได้ ผมอยากชวนให้คุณมองไปที่ตัวกระตุ้นความเครียดเหล่านั้นและยอมรับปัญหาประเภท Gravity Problem หรือปัญหาที่คุณไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวคนเดียวในระยะเวลาอันสั้น

วิธีการรับมือกับ Gravity Problem มีอยู่ 2 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่

1) Accept ยอมรับว่าเรามีข้อจำกัด

2) Reframe ปรับมุมมองของปัญหาที่เกิดขึ้น

 

แม้ว่าการเปลี่ยนมายด์เซ็ทจะไม่สามารถทำได้ชั่วข้ามคืน แต่ก็เป็นไปได้เมื่อเกิดการฝึกฝนไปตลอดหลังจากนี้ เราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับตนเองเพื่อใช้ความคิดเหล่านี้ให้กลายพลังและสร้างความหวังให้แก่ตัวเองต่อไป 

 

Ref

https://www.nytimes.com/…/coronavirus-stress-management…

https://thestandard.co/podcast/ruokmindexercise-ep1/

https://mbl.stanford.edu/…/2020_optimizing_stress_crum…

https://mbl.stanford.edu/…/2013_rethinking_stress_crum…

https://www.ted.com/…/kelly_mcgonigal_how_to_make…

https://www.verywellmind.com/is-watching-the-news-bad-for-mental-health-4802320


Deprecated: File Theme without footer.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a footer.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก