Deprecated: File Theme without header.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a header.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078
ลูกน้องหมดไฟ 🔥 ไปยังไงต่อ? 🔥 – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life ลูกน้องหมดไฟ 🔥 ไปยังไงต่อ? 🔥 – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life

ลูกน้องหมดไฟ 🔥 ไปยังไงต่อ? 🔥

ดร. เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล 21 January 2022
 ลูกน้องหมดไฟ 🔥 ไปยังไงต่อ? 🔥

ลูกน้องหมดไฟ 🔥 ไปยังไงต่อ? 🔥

หากพูดถึงหนึ่งในปัญหาที่มนุษย์ทำงานมีในรอบสองปีที่ผ่านมา หนึ่งในปัญหาที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดคือเรื่องภาวะ Burnout 🔥 มีงานวิจัยที่พบว่า พนักงานกว่าครึ่งมีความรุ้สึกกังวลตลอดเวลา และกว่า 60% ที่รู้สึกว่าตัวเองเผชิญกับความเครียด
.
😩 สาเหตุของความรู้สึกแง่ลบเหล่านี้ คงปฎิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากความเครียดของโรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อความั่นคงของงาน และสุขภาพของตัวเองและครอบครัว

😔 ความเครียดเหล่านี้อาจะทำให้ลูกน้องมีสภาวะ Burnout หรือ หมดไฟในการทำงานได้ ซึ่งอาการหมดไฟนั้น สามารถทำให้พนักงานทำงานมีประสิทธิภาพลดลงถึง 18% และทำให้บริษัทกำไรลดลงได้มากถึง 15%
.
✌️ แล้วในฐานะที่เราเป็นหัวหน้างาน ✌️ เราจะดูแลพวกเค้าเบื้องต้นได้อย่างไร เพื่อทำให้พวกเค้าเกิดอาการ Burnout น้อยลง? วันนี้ผมมีสามวิธีมานำเสนอเบื้องต้นครับ

1. แสดงความห่วงใยมากขึ้น ❤️

มีคำพูดที่ว่า “เราไม่เอาเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวมาปนกัน” คำพูดนี้อาจจะเป็นเรื่องจริงในสมัยก่อนโรคระบาดครับ ซึ่งสมัยก่อนเราสามารถแบ่งได้ชัดเจนระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตส่วนตัว แต่ปัจจุบันจากการทำงานที่บ้าน (ทั้งตลอดเวลาหรือ Hybrid) ทำให้ขอบเขตระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวหายไป ทำให้หลายๆครั้ง การที่หัวหน้างานมองลูกน้องมากกว่าการทำงาน และมองลึกไปถึงความเป็นอยู่ของเค้าจะทำให้พวกเค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและผูกพันกับองค์กรที่เค้าทำงานอยู่มากขึ้น ซึ่งผลงานวิจัยหลายชิ้นก็บ่งชี้ว่า Engagement สามารถช่วยลดสภาวะ Burnout ได้ ดังนั้นในการประชุมครั้งหน้า ลองเปิดประชุมด้วยการสอบถามสารทุกข์สุขดิบของทุกคนก่อนเริ่ม มันอาจจะทำให้การประชุมครั้งนั้นได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างไม่คาดคิดก็ได้

2. มีความยืดหยุ่น 👌

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าเส้นแบ่งระหว่างชีวิตและการทำงานของคนทำงานยุคใหม่จะมีความไม่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่านอกเหนือจากการบริหารจัดการชีวิตของตัวพนักงานเองแล้ว การใช้เวลาทำงานจากที่บ้านอาจจะทำให้พนักงานมีด้านอื่นๆในชีวิตครอบครัวที่ต้องดูแล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุ หรือการต้องมีส่วนร่วมในการเรียนหนังสือจากที่บ้านของลูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้สะท้อนเข้ามาในนิยามใหม่ที่เราเรียกว่า Great Resignation ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าที่ต่างประเทศนั้นมีคนทำงานจำนวนมากที่ “ลาออก” จากการทำงานเนื่องจากได้ใช้เวลาช่วงการทำงานจากที่บ้านในการ “เรียงลำดับ” ความสำคัญของสิ่งต่างๆใหม่ในชีวิต ดังนั้นหากหัวหน้างานแสดงความห่วงใยและแสดงให้เห็นว่าบริษัทพร้อมหาจุดร่วมในการยืดหยุ่นตามสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญ ก็จะทำให้พนักงานเกิดความผูกพันกับอย่างที่ได้กล่าวไปว่าเส้นแบ่งระหว่างชีวิตและการทำงานของคนทำงานยุคใหม่จะมีความไม่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่านอกเหนือจากการบริหารจัดการชีวิตของตัวพนักงานเองแล้ว การใช้เวลาทำงานจากที่บ้านอาจจะทำให้พนักงานมีด้านอื่นๆในชีวิตครอบครัวที่ต้องดูแล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุ หรือการต้องมีส่วนร่วมในการเรียนหนังสือจากที่บ้านของลูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้สะท้อนเข้ามาในนิยามใหม่ที่เราเรียกว่า Great Resignation ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าที่ต่างประเทศนั้นมีคนทำงานจำนวนมากที่ “ลาออก” จากการทำงานเนื่องจากได้ใช้เวลาช่วงการทำงานจากที่บ้านในการ “เรียงลำดับ” ความสำคัญของสิ่งต่างๆใหม่ในชีวิต ดังนั้นหากหัวหน้างานแสดงความห่วงใยและแสดงให้เห็นว่าบริษัทพร้อมหาจุดร่วมในการยืดหยุ่นตามสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญ ก็จะทำให้พนักงานเกิดความผูกพันกับ#มีความยืดหยุ่นองค์กรมากขึ้น

3. ตั้งเวลาการทำงานของทีมตัวเองให้ดี ⌚️

ในปีนี้ช่วงโรคระบาด มีคนที่มาปรึกษาผมคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เค้าตื่นมาเข้าห้องน้ำตอนเที่ยงคืน และระหว่างเข้าห้องนำ้ก็เช็คมือถือและตอบอีเมล์ของเจ้านายเค้าไปด้วย ระหว่างที่ทำธุระต่อก็คิดในใจว่า พรุ่งนี้เช้านายจะตอบกลับมายังไง ปรากฎว่าระหว่างล้างมืออยู่ เจ้านายก็ตอบเมล์กลับเข้ามาแล้ว… หากเป็นช่วงก่อนโรคระบาด หากเราลองถามคนทำงานบนท้องถนนทั่วไปว่า เวลาการทำงานของเค้าปกติคือกี่โมง คำตอบคือ เก้าโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น แต่หลังจากที่เกิดโรคระบาด กลายเป็นว่าไม่มีใครรู้ว่าการทำงานคือกี่โมงถึงกี่โมง หลายคนมีความรู้สึกว่า “ต้องพร้อม” อยู่ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งนี้เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะ Burnout ของพนักงานได้ ในฐานะของหัวหน้าก็อาจจะลองออก “กฎการทำงาน”ของบริษัทตัวเองขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Jane Fraser CEO ของ Citigroup ก็ได้สั่งห้ามให้พนักงานใช้ VDO Call เพื่อนัดประชุมกันในวันศุกร์ หรือ สนับสนุนให้ทุกคนใช้วันลาให้หมด และตั้งวันหยุดพิเศษที่เรียกว่า Citi Reset Day กฎกติกาเหล่านี้สามารถทำให้ทีมคุณรู้สึกได้ “หายใจ” มากขึ้นและสามารถบริหารจัดการเวลาทำงานและเวลาส่วนตัวของตัวเองได้ดีขึ้น

ในโรคระบาดครั้งนี้ การเป็นหัวหน้าทีมก็มีความท้าทายค่อนข้างมาก ผมหวังว่าสามวิธีนี้จะสามารถช่วยให้คุณสามารถบริหารทีมได้ดีขึ้นนะครับ ส่วนใครเอาวิธีไหนไปใช้แล้วได้ผลก็อย่าลืมมาแบ่งปันกันนะครับ

ขอให้สนุกกับการออกแบบชีวิตครับ📝

#DesigningYourLife
อ้างอิง

https://www.forbes.com/sites/nazbeheshti/2021/04/15/the-pandemic-has-created-a-new-kind-of-burnout-which-makes-well-being-more-critical-than-ever
https://www.forbes.com/sites/karlynborysenko/2019/05/02/how-much-are-your-disengaged-employees-costing-you


Deprecated: File Theme without footer.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a footer.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก