Deprecated: File Theme without header.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a header.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078
อายุเท่าไหร่ที่เราจะมีความสุขในชีวิตน้อยที่สุด? – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life อายุเท่าไหร่ที่เราจะมีความสุขในชีวิตน้อยที่สุด? – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life

อายุเท่าไหร่ที่เราจะมีความสุขในชีวิตน้อยที่สุด?

, , ดร. เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล 25 April 2022
 อายุเท่าไหร่ที่เราจะมีความสุขในชีวิตน้อยที่สุด?

อายุเท่าไหร่ที่เราจะมีความสุขในชีวิตน้อยที่สุด?

คุณพ่อของผู้เขียนเมื่อสมัยยังหนุ่มเคยเป็นนักธุรกิจที่ค่อนข้างซีเรียสมากๆ 

ความทรงจำที่มีต่อคุณพ่อในตอนที่เป็นเด็ก เวลาเขาทำงานจะเป็นคนที่เสียงดังและจริงจังมาก ในแง่นึงก็ดูว่าเขาค่อนข้างดุ แต่ในอีกแง่นึงที่ผู้เขียนพึ่งมาสังเกตเมื่อย้อนคิดกลับไปก็คือเขาเป็นคนที่ “หัวเราะ” น้อยมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับปัจจุบันคุณพ่อในวัยแปดสิบกว่า ๆ กลายเป็นคุณปู่ที่ใจดีกับหลาน ๆ และเริ่มได้ยินแกหัวเราะบ่อยขึ้นมาก

ในชีวิตของคนเราหากนึกถึงวัยที่มีความสุขที่สุด หลาย ๆ คนคงสามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นชีวิตของเราในวัยเด็ก แต่หากถามกลับว่าวัยไหนมีความทุกข์มากที่สุด? คุณจะตอบว่าอย่างไร?

ผลการวิจัยของ David Blanchflower อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัย Dartmouth ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งงานวิจัยนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ใหญ่ที่สุด จากการเก็บผลวิจัยกว่า 500,000 ตัวอย่าง จาก 132 ประเทศทั่วโลก David พบว่าคำตอบจากทั่วโลกนั้นมีความใกล้เคียงกันอย่างน่าประหลาดใจ

วัยที่คนเรามีความสุขน้อยที่สุดในชีวิตโดยเฉลี่ยแล้วคือ 47 ปี ในประเทศพัฒนาแล้ว และ 48 ปีในประเทศกำลังพัฒนา

ออกแบบชีวิต คู่มือออกแบบชีวิต

รูปภาพจาก Luis Villasmil unsplash.com

คำถามคือปัจจัยอะไรที่ทำให้คนในวัยนี้มีความสุขน้อย?

ในด้านร่างกาย ในวัยนี้เป็นวัยที่ร่างกายเริ่มที่จะฟ้อง หรือ มีโรคประจำตัวที่จะอยู่ติดตัวไปตลอดชีวิตที่เหลือ คนในวัยนี้จึงต้องเตรียมรับรู้และปรับการใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับโรคเหล่านี้

ในด้านชีวิตครอบครัว คนวัย 40 กลางๆอยู่ในช่วงวัยที่โดนประกบ หรือ เรียกว่าอยู่ในวัย “แซนวิช” คือในด้านหนึ่ง พ่อแม่ของพวกเค้าเริ่มมีอายุจนอยู่ในวัยที่ต้องการความดูแลใกล้ชิด ในขณะเดียวกัน รุ่นลูกของพวกเค้าก็เข้าสู่วัยรุ่นหรือวัย “ต่อต้าน” นอกจากเรื่องของแรงกายที่ต้องทุ่มเทดูแลคนรอบข้างแล้ว จึงทำให้ค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อดูแลทั้ง 2 ส่วนนี้มักจะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

ในด้านการทำงาน ถึงแม้ว่ารายได้ของคนวัยนี้จะเริ่มอยู่ในจุดที่ “ลงตัว” กว่าช่วงวัย 20 หรือ 30 แต่ตำแหน่งในองค์กรของคนในวัยนี้มักจะอยู่ในระดับผู้บริหารระดับกลาง แปลว่าพวกเค้าจะมีความรับผิดชอบมากขึ้นในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายเดิม แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเริ่มเรียนรู้บทบาทของการเป็นผู้บริหารไปด้วย

 ด้วยเหตุผลจากด้านการทำงานนี้เองที่ทำให้คนในวัยนี้เกิดความเครียดสะสม ซึ่งจะกระทบในด้านร่างกายและด้านอื่น ๆ ตามมา

ในด้านเป้าหมายชีวิต วัยดังกล่าวทำให้คุณมีประสบการณ์ชีวิตมากพอที่จะทำให้เห็นภาพว่า “อะไรคือข้อเท็จจริง” ของชีวิต ไปจนถึงการที่สามารถวิเคราะห์ว่าตนเองมีศักยภาพระดับไหน ซึ่งการมองเห็นภาพที่แท้จริงนั้นในหลายครั้งอาจทำให้รู้สึกผิดหวังกับตัวเอง เมื่อเปรียบเทียบภาพที่เคยคาดหวังกับตัวเองเมื่อสมัยที่พึ่งเข้าสู่โลกของการทำงานใหม่ ๆ

อีกทั้งในวัยนี้คนส่วนมากเริ่มรู้สึกถึง “ข้อจำกัด” บางอย่างที่อาจทำให้ความฝันของตัวเองไม่ประสบความสำเร็จ

รูปภาพจาก Pablo Heimplatz unsplash.com

ออกแบบชีวิต คู่มือออกแบบชีวิต

หลายคนมองว่าการเริ่มต้นทำกิจการ หรือความฝันที่ตัวเองมีในช่วงเวลาที่เข้าสู่ 10 – 15 ปีที่เหลือของวัยทำงาน ดูเหมือนจะสายเกินไปที่จะมองเห็นและลงแรงไปกับงานที่คาดหวังว่าจะออกดอกออกผล

อ่านมาถึงตรงนี้คุณอาจคิดว่าแย่ไปหมดเลยใช่ไหม? แต่ในอีกแง่มุมนึง งานวิจัยนี้ก็มีข่าวดีเหมือนกัน เพราะถึงแม้ว่าช่วงวัยนี้จะเป็นช่วงวัยที่ “สุขน้อยที่สุด” ของชีวิต แต่งานวิจัยค้นพบว่าหลังจากนั้น ชีวิตของคนเราเองจะมีความสุขมากขึ้นในแทบจะทุกปีจนกระทั่งสิ้นอายุขัย

สาเหตุก็เป็นเพราะความสามารถในการปรับตัวให้อยู่ร่วมกับโรคได้ ความรับผิดชอบต่อครอบครัวที่ลดลง รวมลูกหลานที่โตขึ้น นอกจากนี้วัยทำงานที่มีประสบการณ์การบริหารที่มากขึ้น ตลอดจนการยอมรับบทบาทหรือเป้าหมายของชีวิตทำให้สามารถใช้เวลาที่เหลือได้อย่างมีความสุขขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นการที่คุณรู้สึกทุกข์กับชีวิตในช่วงวัยสี่สิบกลาง ๆ ไม่ต้องแปลกใจไป เนื่องจากสถานการณ์นี้เองก็เป็นความปกติของวงจรชีวิตที่คนส่วนมากก็ต้องผ่านพ้นไปเช่นกัน

เมื่อรู้ข้อมูลเหล่านี้แล้วการเตรียมตัวเตรียมใจในการยอมรับถึงสิ่งที่เผชิญอยู่หรือกำลังจะตามมาก็อาจจะทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งคำถามสำคัญที่คุณควรถามตัวเองก็คือ คุณสามารถเตรียมการหรือลงมือออกแบบชีวิตอย่างไรให้ผ่านพ้นช่วงเวลานี้อย่างลงตัวที่สุดมากกว่า

ขอให้สนุกกับการออกแบบชีวิต


Deprecated: File Theme without footer.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a footer.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก