Deprecated: File Theme without header.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a header.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078
8 วิธี เลิกดูเรื่อยเปื่อยโดยนักจิตวิทยา – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life 8 วิธี เลิกดูเรื่อยเปื่อยโดยนักจิตวิทยา – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life

8 วิธี เลิกดูเรื่อยเปื่อยโดยนักจิตวิทยา

, , , ดร. เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล 27 September 2022
 8 วิธี เลิกดูเรื่อยเปื่อยโดยนักจิตวิทยา

หากคุณพบว่าตัวเองใช้เวลากับการนอนดู โปรแกรม Steaming เช่น Netflix หรือ Youtube อยู่บนโซฟาเสียเป็นส่วนใหญ่…บทความนี้เหมาะกับคุณ

เรื่องของการเสพติดวีดีโอเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไร หลายๆคนพบกับความยากลำบากที่จะ”ถอน” ตัวเองขึ้นมาหลังจากที่เริ่มเอนนอนดูโปรแกรมเหล่านี้ พอรู้ตัวอีกที เราก็ดูต่อเนื่องไปหลายชั่วโมงแล้ว ส่วนหนึ่งต้องชมตัวแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีโดยมีจุดประสงค์หลักก็เพื่อให้คนดูติดนั่นเอง

โดยเฉพาะในช่วงไวรัสระบาดนี้ สถิติของ Nielsen ในรายงานข่าวของ CNBC พบว่าในช่วง “ล็อคดาวน์” คนส่วนใหญ่ใช้เวลากับ Netflix มากขึ้นกว่าเดิมถึง 36%

ก่อนที่จะเข้าสู่เทคนิคการ “ถอน” ด้านล่าง อยากจะเกริ่นก่อนว่า ตัวผู้เขียนบทความก็ชื่นชอบการดูวีดีโอ เหมือนกันและเป็นหนึ่งในสมาชิกที่เหนียวแน่นของ Netflix ดังนั้นบทความนี้จึงไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้คนเลิกดูหรือบอกว่าการดูวีดีโอไม่มีประโยชน์

แต่บทความนี้เหมาะสำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวเองเสพติดมากเกินไป (แล้ววววว)

และนี้คือ 8 ข้อแนะนำจากนักจิตวิทยาเพื่อการ “ถอน” การเสพติดการดูวีดีโอ Steaming 

ข้อแรก – อย่าดูในมือถือ 

การใส่โปรแกรมไว้ในมือถือหรือไอแพด แน่นอนว่าทำให้คุณสามารถดูหนังได้ทุกเวลา ตั้งแต่ตอนเข้าห้องน้ำจนถึงก่อนนอน ซึ่งความสะดวกนี้อาจส่งผลให้คุณดูมากเกินไป ทางแก้คือให้ลบแอพออกจากมือถือ และจัดสรร “สถานที่” ในการดูวีดีโอเหล่านี้ให้เฉพาะไปเลย เช่นในห้องดูทีวี หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นต้น

ข้อสอง – ทำให้เข้าถึงยากขึ้น 

ความง่ายในการเข้าถึงทำให้เกิดความเคยชิน ดังนั้นหากคุณพบว่าตัวเองเข้าถึงวีดีโอเหล่านี้ง่ายเกินไป เช่นถ้าคุณมีทีวีที่ตั้งอยู่กลางบ้าน หรืออยู่ที่ปลายเตียง คุณอาจต้องสร้าง “ขั้นตอน” บางอย่างขึ้นมา เพื่อทำให้เข้าถึงยากขึ้น เช่น ดึงปลั๊กทีวีออกหลังดูจบ ถอดสาย Wi-Fi การกด Log Out หลังดูจบและไม่ตั้ง Auto Password ขั้นตอนที่ถูก”สร้างขึ้น” เหล่านี้ เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่จะช่วยให้เราออกจากความเคยชินเดิมๆ ของตัวเอง และทำให้เราฉุดคิดสักนิดก่อนที่จะเปิดด้วยความเคยชิน

ข้อสาม – ตั้งนาฬิกาทุกครั้งที่ดู 

การควบคุมเวลาการดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่หลายครั้ง เราพบว่าเรา “หยุดไม่ได้” จากที่ตั้งใจจะดูแค่ 1 ชั่วโมง รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไป 3 ชั่วโมงครึ่งแล้ว บางครั้งการอาศัยความตั้งใจอย่างเดียวอาจจะไม่พอ อีกหนึ่งตัวช่วยง่ายๆ ที่ทุกคนมีคือ “การจับเวลา” ซึ่งคุณอาจใช้ มือถือ หรือ นาฬิกาปลุกก็ได้ โดยแบ่งช่วงเวลาที่ต้องการจะดูให้ชัดเจนในแต่ละครั้งและกดปิดทีวีเมื่อนาฬิกาดัง คุณจะพบว่ามันง่ายและมีประสิทธิภาพกว่าการบอกกับตัวเองว่า “จะดูแค่ชั่วโมงเดียวพอ”

ข้อสี่ – อย่าดูเมื่อว่าง แต่ให้ “ตั้งใจ” ดู 

อย่าให้นิสัยการดูวีดีโอเหล่านี้ เป็นนิสัยที่เอาไว้เติม “เวลาว่าง” ของคุณ เพราะมันพร้อมที่จะเติมเวลาคุณจนเต็มจนคุณไม่มีเวลาว่างอีก ให้เปลี่ยนทัศนคติจากการดูเมื่อว่าง เป็นการ “ตั้งใจ” ดู และแบ่งช่วงเวลาการดูให้ชัดเจนไปเลย

ข้อห้า – แลกรางวัล 

ตั้งเงื่อนไขง่ายๆให้ตัวเองในการดูวีดีโอในแต่ละครั้ง เช่น จะดู Itaewon Class 1 ตอนก็ต่อเมื่ออ่านหนังสือจบ 1 บท หรือจะดู Crash Landing On You 1 ตอนเมื่อถูบ้านเสร็จ การตั้งเงื่อนไขรางวัลง่ายๆ เหล่านี้สามารถเปลี่ยนการดูวีดีโอที่ตัวเองชื่นชอบ ให้เป็นตัวขับเคลื่อนสำหรับกิจกรรมที่คุณอยากทำได้ด้วย

ข้อหก – ถ้ามันไม่เหมาะ มันก็ไม่เหมาะ 

“เฮ้ย เรื่องนี้สนุกมาก” เพื่อนของคุณบอก แต่พอคุณมาเปิดดูสัก 3 ตอนคุณบอกกับตัวเองว่า “ไม่เห็นจะสนุกเลย” แต่คุณก็ไม่หยุดดูด้วยสาเหตุเพียงเพราะว่า “ก็ดูไปแล้ว ดูจนจบละกัน”

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เผชิญกับเหตุการณ์ทำนองนี้ เรามีคำอธิบายในเชิงจิตวิทยาที่เรียกว่า “Sunk Cost Fallacy” ซึ่งคำอธิบายสั้นๆก็คือคนเรามักจะไม่ล้มเลิกอะไรง่ายๆ หากมีการเริ่ม “ลงทุน” ไปแล้ว ดังนั้นเมื่อคุณรู้แล้ว หากคุณดูซีรีย์เรื่องไหนแล้วรู้สึกว่ามันไม่สนุก คุณก็ไม่ต้องพยายามดูต่อจนจบ แค่บอกกับตัวเองว่า “มันไม่เหมาะ” แล้วก็เลิกดูซะ

ข้อเจ็ด – อย่าเลิกดูตอนจบตอน ให้เลิกดูช่วง10-15 นาทีก่อนจบตอน 

เป็นเรื่องที่ขัดกับความรู้สึกของหลายคน แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านให้คำแนะนำข้อนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวาง “องค์ของละคร” โดยตรง แน่นอนว่าคนทำละครเหล่านี้ ล้วนเป็นมือละครระดับโลก ดังนั้นหน้าที่ของพวกเค้าคือการวางองค์ของละครในแต่ละตอนให้คนดู”ติด”และอยากจะดูตอนต่อไปให้เร็วที่สุด

หากลองสังเกตละครที่เราดู ช่วง10 – 15 นาทีท้ายจะเป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นที่สุดและละครตอนนั้นก็จะตัดจบ เพื่อให้คุณอยากกดดูตอนต่อไปทันที (Cliffhanger) หากคุณรู้เรื่อง “องค์ละคร” ที่คนคิดบทใช้ในการเดินเรื่องแล้ว คุณสามารถนำสิ่งนี้มาช่วยควบคุมการดูของคุณได้

ข้อแปด – หักดิบ 

บางครั้งการเลิกที่ดีที่สุด คือการหักดิบไปเลย สำหรับบางคนแล้วการควบคุมตัวเองหรือการตั้งเงื่อนไขบางอย่างอาจเป็นอะไรที่ซับซ้อนเกินไป ซึ่งเราเข้าใจคุณดี ดังนั้นหากคุณรู้สึกว่า การดูวีดีโอเริ่มที่จะเบียดเวลาส่วนอื่นของชีวิตคุณโดยที่คุณไม่สามารถควบคุมมันได้ การยกเลิกสมาชิกไปเลยก็ดูเป็นทางออกแบบหักดิบแต่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

และนี้คือคำแนะนำต่างๆ ในการบริหารจัดการการดูวีดีโอของคุณ ลองเอาวิธีที่คุณคิดว่าเหมาะสมกับตัวเองไปลองดูนะ


Deprecated: File Theme without footer.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a footer.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก