Deprecated: File Theme without header.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a header.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078
คุณเป็นคนโชคดีหรือไม่? คำถามง่ายๆ แต่ไม่ธรรมดา – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life คุณเป็นคนโชคดีหรือไม่? คำถามง่ายๆ แต่ไม่ธรรมดา – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life

คุณเป็นคนโชคดีหรือไม่? คำถามง่ายๆ แต่ไม่ธรรมดา

, , ดร. เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล 5 May 2022
 คุณเป็นคนโชคดีหรือไม่? คำถามง่ายๆ แต่ไม่ธรรมดา

ภาพจาก Mingwei Lim Unsplash

คำถามอะไรที่คุณมักโดนถามเวลาไปสัมภาษณ์งาน

“ทำไมคุณถึงอยากทำงานนี้?”

“คุณคิดว่าตัวเองทำงานเป็นทีมได้ดีไหม?”

“อะไรคือจุดอ่อนหรือข้อที่ควรปรับปรุงของคุณ?”

คำถามเหล่านี้มักเป็นคำถามทั่วไปที่เรามักเจอในการสัมภาษณ์งาน เพื่อให้บริษัทได้รู้จักเรา (หรือสิ่งที่เราเตรียมตัวไปตอบ) ได้มากขึ้น แต่คุณจะตอบว่าอะไรหากมีบริษัทแห่งหนึ่งถามคุณว่า

“คุณคิดว่าตัวเองเป็นคนโชคดีหรือไม่?”

คำถามนี้ไม่ใช่คำถามหลอก แท้ที่จริงเป็นหนึ่งในคำถามที่บริษัท Zappos บริษัทขายรองเท้าออนไลน์ในอเมริกา ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบริษัทที่คนอยากทำงานด้วยมากที่สุดในโลก ใช้สัมภาษณ์ผู้มาสมัครงาน

ย้อนกลับมาที่คำถาม “คุณคิดว่าตัวเองเป็นคนโชคดีหรือไม่?” ผู้สัมภาษณ์จะให้ผู้สมัครงานให้คะแนนตัวเองจาก 1-10

โดยที่ 1 หมายความว่าตนเป็นคนโชคร้ายสุด ๆ เรียงไปถึง 10 ที่มีความหมายว่าคุณเป็นคนโชคดีสุด ๆ แม้ว่าคำถามนี้จะดูเป็นเหมือนคำถามที่ไว้ใช้ถามเล่น ๆ ระหว่างเพื่อน แต่สำหรับบริษัทนี้พวกเขามักเลือกจ้างคนที่มองตัวเองว่า “เป็นคนโชคดี” นะ

ผู้อ่านอาจสงสัยว่าเพราะเหตุใดบริษัทถึงเลือกที่จะให้โอกาสการทำงานแก่คนที่บอกว่าตัวเองเป็นคนโชคดี

คำตอบคือคนที่ดวงไม่ดี ก็มักจะนำพาดวงของตัวเองมาทำให้ดวงของบริษัทไม่ดีตามไปด้วยตามหลักฮวงจุ้ยนั่นเอง

ล้อเล่น

การที่บริษัทเลือกคนที่คิดว่าตัวเองดวงดี ไม่ใช่เพื่อเสริมดวงชะตาบริษัท

คุณเป็นคนโชคดีหรือไม่? คำถามง่ายๆ แต่ไม่ธรรมดา | ออกแบบชีวิต | Modular Consulting

ภาพจาก Christina @ wocintechchat.com Unsplash

Modular Consulting ขออาสาอธิบายหลักเหตุและผลของคำถามและคำตอบในมุมมองของหลักจิตวิทยา อาจจะตอบได้ไม่ทั้งหมดว่าทำไมคนเราถึงโชคดีหรือโชคร้าย

แต่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คน 2 กลุ่มนี้ที่นิยามตนเองแตกต่างกันคือ “มุมมอง” นั่นเอง

ยกตัวอย่างการทดลองในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่ก่อนเริ่มการทดลองเขาจะให้ผู้เข้าร่วมการทดลองระบุว่าตัวเองเป็นคนโชคดีแค่ไหนจากคะแนนเต็มสิบ หลังจากนั้นจะมีการทดลองให้ทำ โดยนำหนังสือพิมพ์มาให้หนึ่งฉบับ แล้วให้ผู้ทำการทดลองนับจำนวน “หัวข้อข่าว” ที่มีในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น

เมื่อผู้ทำการทดลองนับเสร็จให้เดินไปหาผู้คุมห้องทดลองและบอกจำนวนหัวข้อข่าว หากผู้ทำการทดลองบอกจำนวนตัวเลขได้ถูก พวกเค้าจะได้รับเงินค่าเสียเวลาจำนวน 10 เหรียญ 

แต่สิ่งที่นักวิจัยไม่ได้บอกผู้ทดลองคือ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้เป็นหนังสือพิมพ์ปลอมที่ผู้ทำการวิจัยทำขึ้นมาครับ และในหน้าที่สองของหนังสือพิมพ์ภายใต้เนื้อหาข่าว มีประโยคที่นักวิจัยแอบเขียนแทรกเข้าไปในเนื้อหาข่าวว่า

“หากคุณอ่านเห็นข้อความนี้ คุณไม่ต้องนับหัวข้อข่าวแล้ว คุณสามารถเดินไปที่ผู้คุมห้องทดลอง ชี้ประโยคนี้ให้เค้าดูและรับเงินค่าเสียเวลาจำนวน 15 เหรียญได้เลย”

คุณเป็นคนโชคดีหรือไม่? คำถามง่ายๆ แต่ไม่ธรรมดา | ออกแบบชีวิต | Modular Consulting

ภาพจาก Good Good Good Unsplash

สิ่งที่น่าสนใจคือคนที่มองตัวเองว่า “โชคไม่ดี” มักจะนับหัวข้อข่าวแทบทุกคน รวมถึงการมองไม่เห็นข้อความที่ถูกซ่อนไว้ ในขณะที่คนที่มองว่าตัวเอง “โชคดี” กว่า 80% จะมองเห็นข้อความที่ซ่อนอยู่และได้รับเงิน 15 เหรียญไปอย่างง่ายดาย

ผลการทดลองในครั้งนี้สรุปว่าในบางครั้ง “โชค” อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ซะทีเดียว คนที่มองว่าตัวเอง “โชคไม่ดี” มักจะมุ่งเน้นแค่สิ่งที่ตัวเองมีหรือสิ่งที่ตัวเองได้รับมอบหมายให้ทำ ในขณะที่คนที่มองว่าตัวเอง “โชคดี” คือคนที่มีความสามารถในการมองสิ่งต่าง ๆ ในมุมที่กว้างกว่าคนอื่น ๆ และมองเห็นโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ

จากหัวข้อการทดลองกลับมาที่คำถามการสัมภาษณ์ของบริษัท Zappos ถึงใช้คำถามนี้สัมภาษณ์คนมาสมัครงาน ก็เพราะว่าหากเทียบกับคนที่มองว่าตัวอง “โชคไม่ดี” มีแนวโน้มว่าจะทำงานที่รับมอบหมาย “ตามที่ถูกสั่งมา” อย่างถูกต้องเคร่งครัด ในทางกลับกันคนที่มองว่าตัวเอง “โชคดี” ย่อมมีแนวโน้มที่จะมองหารายละเอียดอื่น ๆ หรือตั้งคำถามในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งไม่แน่ว่าอาจจะพาไปสู่วิธีการทำงานที่ดีกว่าเดิม หรือมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจก็เป็นได้

แล้วคุณละ? คุณคิดว่าตัวเอง “โชคดี” หรือเปล่า?


Deprecated: File Theme without footer.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a footer.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก