Deprecated: File Theme without header.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a header.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078
Designing your work life ปรับมุมคิด ชีวิต(การทำงาน)ดีขึ้น – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life Designing your work life ปรับมุมคิด ชีวิต(การทำงาน)ดีขึ้น – MODULAR CONSULTING – ออกแบบชีวิตด้วย Designing Your Life

Designing your work life ปรับมุมคิด ชีวิต(การทำงาน)ดีขึ้น

ดร. เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล 10 February 2022
 Designing your work life ปรับมุมคิด ชีวิต(การทำงาน)ดีขึ้น

Designing your work life ปรับมุมคิด ชีวิต(การทำงาน)ดีขึ้น

หากคุณเคยเจอปัญหาเหล่านี้ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น งานที่ทำน่าเบื่อมาก ดูไม่มีความก้าวหน้าอะไรเลย หรืองานโปรเจ็กต์ที่ดูเหมือนเป็นงานเดี่ยว ต้องเป็นเดอะแบกประจำทีม  รวมถึงปัญหาอื่นๆ อีกมากมายจนทำให้ไม่มีความสุขในที่ทำงาน

แน่นอนว่าเราทุกคนย่อมอยากทำงานที่มีความสุข งานที่มีความหมาย โดยไม่ต้องดิ้นรนเปลี่ยนงานใหม่ โดยเฉพาะในสถานการณ์ Covid-19 นั่นหมายความว่าเราต้องจัดการปัญหาที่ค้างคาใจในที่ทำงาน

แล้วเราจะจัดการปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง ?

วันนี้ Modulasr ขอแชร์วิธีการแก้ปัญหาปัญหาต่างๆ ที่คุณต้องเจอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การทำงาน (Work) ความรัก (Love) การพักผ่อน (Play) สุขภาพ (Health) จากหนังสือ Designing Your Work Life 

1.ขั้นตอนแรก : เข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง ตัดส่วนอารมณ์ดราม่าที่ทำให้เราอคติทิ้งไป

คุณอาจเคยรับฟังปัญหาเหล่านี้จากเพื่อนของคุณ ซึ่งเขามาเล่า (บ่น) เรื่องงานให้คุณฟังบ่อยๆว่า เขารู้สึกเหนื่อยกับการต้องทำงานกับทีมปัจจุบันที่งี่เง่า ไม่ฟังความเห็นของคนอื่น ทำให้งานโปรเจ็กต์นี้ไม่มีทางเดินต่อไปได้

แต่เมื่อลองมาวิเคราะห์ปัญหา พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่เราเจอ จะเป็น 2 ประเภทนี้คือ

1).ปัญหาที่เราทำอะไรกับมันไม่ได้จริงๆ หรือที่เราเรียกว่า “ปัญหาแรงโน้มถ่วง”

2).ปัญหาที่วางกรอบมาผิดๆ และเราสามารถวางกรอบหรือปรับมุมมองเพื่อแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น

.

.

ดังนั้นก่อนที่เราจะแก้ปัญหา ตัองเข้าใจปัญหาจริงๆ เสียก่อน โดยมีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้

ระบุปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น “เหนื่อยกับการต้องทำงานกับทีมปัจจุบันที่งี่เง่า ไม่ฟังความเห็นของคนอื่น ทำให้งานโปรเจ็กต์นี้ไม่มีทางเดินต่อไปได้” เกิดอะไรขึ้นจริงๆ และตัดส่วนที่ไม่จำเป็นในคำตอบแรกทิ้งไป แล้วซูมเข้าไปในแต่ส่วนของปัญหา

องค์ประกอบสุดดราม่า #1 : งี่เง่า 

งี่เง่า เป็นคำที่เพื่อนร่วมงานคนนั้นแปะป้ายให้ทีมของคุณ ซึ่งจริงๆ แล้วทีมของคุณอาจจะไม่ได้งี่เง่าทุกคน ซึ่งนั่นไม่แฟร์สำหรับทุกคนในทีมเท่าไหร่นัก

องค์ประกอบสุดดราม่า #2 : ไม่มีทางเดินต่อไปได้ 

ปัญหาในข้อที่เพื่อนร่วมงานคนนั้นวางกรอบมาได้ไม่ดีนัก เพราะมันไม่ยืดหยุ่น (สังเกตคำว่าไม่มีวัน)

โปรเจ็กต์ไม่มีทางเดินต่อไปได้ นั่นหมายความว่าโปรเจ็กต์นั้นหยุดชะงัก และไม่มีทางที่โปรเจ็กต์จะกลับมารันต่อได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจมีโอกาสที่โปรเจ็กต์นี้จะกลับมาดำเนินต่อไปได้ หากเราแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

2.ขั้นตอนสอง : ปรับเปลี่ยนมุมมองของปัญหาเสียใหม่

แนวคิดคือการปรับมุมมองให้ปัญหาเหล่านั้นกลายเป็นปัญหาที่คุณสามารถจัดการได้ Minimum Actionable Program (MAP)

ที่ D.school มักเริ่มต้นการปรับมุมมองคำถามด้วย “ทำอย่างไร เราจึงจะ” ไม่ต้องยึดติดกับความถูกต้อง สมบูรณ์แบบ แค่ย่อยและปรับมุมมองให้เป็นสิ่งที่เราจัดการได้

MAP 1 : เพื่อนร่วมงานที่เคยบอกว่างี่เง่า ไม่ฟังความเห็นของคนอื่น อาจเป็นเพราะพวกเขายังไม่เห็นเป้าหมายของการทำโปรเจ็กต์ร่วมกัน เห็นเนื้องานแค่สิ่งที่ตัวเองทำอยู่ ถ้าเป็นอย่างนั้น จะทำอย่างไรให้ทุกคนเห็นเป้าหมายร่วมกัน และตั้งใจทำส่วนของตัวเองออกมาให้ดีที่สุดให้ได้

MAP 2 : งานไม่เดินไปไหน อาจเพราะขาดข้อมูลจำเป็นสำหรับโปรเจ็กต์ ถ้าเป็นอย่างนั้น ต้องรวบรวมข้อมูลสำคัญสำหรับโปรเจ็กต์มาให้ได้

MAP 3 : หากเพื่อนร่วมงานบางคนงี่เง่า เกินเยียวยาจริงๆ ไม่สามารถนำเสนอไอเดียเพื่อให้งานสำเร็จได้เราจะทำอย่างไรให้ได้ไอเดียดีๆ จากคนเก่งๆ เพื่อให้โปรเจ็กต์ลุล่วงด้วยดี

3.ขั้นตอนสาม : ระดมหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ และเลือกอันที่เป็นไปได้ สามารถทำได้เลย

MAP 1 : อาจนัดปรึกษากับหัวหน้า เพื่อให้มาเล่าเหตุผลที่มาที่ไปของโปรเจ็กต์​ รวมถึงมีการเซ็ท KPIs และ Roadmap ที่ชัดเจนขึ้น

MAP 2 : นัดประชุมทีม เพื่อให้ทุกคนบอกข้อมูลที่ตัวเองต้องการ และไม่แน่ว่าบางคนในทีมอาจจะมีข้อมูลนั้นๆ อยู่แล้วก็ได้ แต่ไม่เคยแชร์ให้เป็นข้อมูลกลางที่ทุกคนเข้าถึงได้ ควร set up ประชุมประจำสัปดาห์​เพื่ออัปเดทความคืบหน้า ให้ทุกคนเล่าสิ่งที่ติดปัญหา เพื่อแก้ปัญหา และ Track timelime ของโปรเจ็กต์เพิ่มเติม

MAP 3: อาจจะลองหาคำปรึกษาจากคนนอกดู เช่น ลองขอนัดปรึกษารุ่นพี่ที่ทำงานที่เคยประสบความสำเร็จกับงานประเภทนี้ เพื่อขอไอเดียสำหรับโปรเจ็กต์นี้เพิ่มเติมได้ อาจจะพบว่ารุ่นพี่ก็เคยเจอปัญหาประเภทนี้เหมือนกัน และลองศึกษาดูว่าเค้ามีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

สรุปได้ว่า จริงๆ แล้ว แค่ลองปรับมุมมองปัญหาอีกนิด ชีวิตก็อาจจะได้เจอทางออกใหม่ๆ โดยไม่ยึดติดกับปัญหาเดิมๆ โดย MAP ที่เราได้มาอาจจะไม่ใช้คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ขอเป็นเพียงตัวเลือกที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้นๆ ก็พอ


Deprecated: File Theme without footer.php is deprecated since version 3.0.0 with no alternative available. Please include a footer.php template in your theme. in /home/mthailan/domains/modularconsulting.net/public_html/wp-includes/functions.php on line 6078

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก